แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 1.2 การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน
ให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการส่งเสริมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธรรม และเกิดความมั่นคง
1 ประกาศใช้แผนที่แนวเขตพื้นที่ป่าที่มีแนวเขตเดียวกัน (One Map) และจำนวนพื้นที่จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (เพิ่มขึ้น)
2 ร้อยละของพื้นที่การถือครองที่ดินแต่ละประเภทเทียบกับพื้นที่ทั้งประเทศ (เพิ่มขึ้น)
3 พื้นที่ที่มีสภาพป่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15
4 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ IWRM (ดัชนี 0 - 100) (เพิ่มขึ้น)
5 ร้อยละของพื้นที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ดินทั้งหมด (ลดลง)
6 ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะได้รับการจัดการตามแนวทางและมาตรการ หรือมีโครงสร้างที่เหมาะสม (เพิ่มขึ้น)
7 ปะการังที่มีชีวิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 - 9
8 อัตราการจับสัตว์น้ำต่อการลงแรงประมงทะเล (Catch Per Unit Effort: CPUE) ใน 1 ชั่วโมง ในน่านน้ำไทย (เพิ่มขึ้น)
9 ยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
10 อัตราการสูญเสียชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (ลดลง)
11 สัดส่วนเรื่องร้องเรียนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการดำเนินการ (เพิ่มขึ้น)
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.2.1.1 เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล รักษา ติดตาม และตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน กลุ่มอาสาสมัคร สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะหุ้นส่วนการพัฒนา |
1. โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมในศาสนสถานจังหวัดบุรีรัมย์ 2. โครงการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน 3. โครงการพัฒนาอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) |
1.2.1.2 พัฒนาแนวทางการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการดูแล รักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม |
1. โครงการเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จังหวัดบุรีรัมย์ |
1.2.1.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำและบังคับใช้มาตรการการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดทำแผนฟื้นฟู และติดตามประเมินผลโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบรรลุผลสำเร็จ | |
1.2.1.4 สนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงชายฝั่ง รวมถึงเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนชายฝั่งให้ร่วมดำเนินกิจกรรม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและพื้นที่อ่าว โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดกฎหมายในเขตการทำประมงพื้นบ้าน การถ่ายทอดความรู้การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งให้แก่สมาชิก และการใช้ระบบชะลอคลื่นที่เลียนแบบธรรมชาติให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่และวิถีชีวิตชุมชน | |
1.2.1.5 ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ และบำรุงรักษา เพื่อคุ้มครองแหล่งอันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และ/หรือแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา รวมถึงอุทยานธรณี และเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัย รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น | |
1.2.1.6 ส่งเสริมบทบาทของเครือข่ายประชาชน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อให้ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการไม่เผาป่าหรือเผาเศษวัสดุทางการเกษตร การติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า และเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
1. โครงการพัฒนาเครือข่าย อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา 2. โครงการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน 3. โครงการพัฒนาเครือข่าย อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดบุรีรัมย์ 4. โครงการชุมชนปลอดการเผา |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.2.2.1 จัดตั้งกลไกระดับชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เป็นชุมชนเชิงนิเวศ มีวิถีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนและพึ่งตนเองได้ โดยสร้างแรงจูงใจแก่ชุมชนที่รักษาวิถีชีวิตเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมให้มีรายได้จากการรักษาระบบนิเวศ โดยเฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนคุณค่าระบบนิเวศ หรือการจ่ายค่าตอบแทนให้กับชุมชนหรือผู้ที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (Payment for Ecosystem Services: PES) | |
1.2.2.2 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ และสามารถนำงบประมาณที่ได้จากการระดมทุนมาจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ | |
1.2.2.3 สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยงานท้องถิ่นระดับตำบล เพื่อเป็นหน่วยงานเครือข่ายในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวัง และป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากปัญหาการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ | |
1.2.2.4 เสริมสร้างศักยภาพของสื่อมวลชนด้านสิ่งแวดล้อมให้มีการสื่อสารด้านสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการจัดการอย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย | |
1.2.2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการ และการติดตามการดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อให้มีการประเมินผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงให้เกิดการจัดการที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และเกิดความต่อเนื่อง | |
1.2.2.6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการติดตามการดำเนินงานแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการ เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน | |
1.2.2.7 สนับสนุนการสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านวิชาการและสถาบันการศึกษา เครือข่ายประชาชน ชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาต่อยอดงานวิจัย และผลักดันให้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ | |
1.2.2.8 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลไกเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการยุติธรรม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.2.3.1 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการศึกษาเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ | |
1.2.3.2 สนับสนุนการจัดการเรียน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ |
1. โครงการค่ายอาสาผู้นำนักศึกษา 8 สถาบันราชภัฏภาคเหนือ |
1.2.3.3 ประชาสัมพันธ์ และอบรมให้ความรู้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในท้องถิ่น ได้รับทราบถึงกฎหมายและสิทธิของตนเองในการดูแลและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงบทบาทในการเข้าไปมี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ |
1. โครงการประสานความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดบุรีรัมย์ |
1.2.3.4 สนับสนุนและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกในการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยให้ได้รับความรู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพ เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน ตลอดจนร่วมรับผลประโยชน์และผลกระทบ เพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน | |
1.2.3.5 จัดทำแผนที่ขอบเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำและแนวทางการใช้ที่ดินตามลักษณะชั้นคุณภาพลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับข้อเสนอมาตรการที่กำหนดไว้ พร้อมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ ความเข้าใจแก่หน่วยงาน ประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำและลำธารโดยกระบวนการมีส่วนร่วม | |
1.2.3.6 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวาง ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทางสื่อต่างๆ เพื่อป้องกันการเข้าไปบุกรุกที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ |